วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

คอมพิวเตอร์กราฟิกและแอนนิเมชั่น


คอมพิวเตอร์กราฟิกและแอนนิเมชั่น



คอมพิวเตอร์  หมายถึง

            คอมพิวเตอร์ หมายถึง  เครื่องคำนวณ  อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า  เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล  ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์ หรืออาจกล่าวได้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์หมายถึง  เครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณและการประมวลผลข้อมูล  จากคุณสมบัตินี้ของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งไม่ใช่เครื่องคิดเลข
เครื่องคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ
3 ประการคือ
1. ความเร็ว  (Speed)  เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูงมาก  ซึ่งหน่วยความเร็วของการทำงานของคอมพิวเตอร์วัดเป็น
 
 - มิลลิเซกัน (Millisecond)      ซึ่งเปรียบเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1000 วินาที  หรือ ของวินาที
 - ไมโครเซกัน (Microsecond) ซึ่งเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000 วินาที    หรือของวินาที
- นาโนเซกัน (Nanosecond)    ซึ่งเปรียบเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000,000 วินาที  หรือของวินาที
             ความเร็วที่ต่างกันนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละยุค  ซึ่งได้มีการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลข้อมูล ได้เร็วในเวลาไม่เกิน
1 วินาที  จะทำให้คอมพิวเตอร์มีบทบาทในการนำมาเป็นเครื่องมือใช้งานอย่างดียิ่ง
2. หน่วยความจำ (Memory)  เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยความจำ  ซึ่งสามารถใช้บันทึกและเก็บข้อมูลได้คราวละมากๆ และสามารถเก็บคำสั่ง (Instructions) ต่อๆกันได้ที่เราเรียกว่าโปรแกรม แลนำมาประมวลในคราวเดียวกัน ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานเก็บข้อมูลได้ครั้งละมากๆ เช่น    การสำรวจสำมะโนประชากร  หรือรายงานผลการเลือกตั้งซึ่งทำให้มีการประมวลได้รวดเร็วและถูกต้อง   จากการที่หน่วยความจำสามารถบันทึกโปรแกรมและข้อมูลไว้ในเครื่องได้  ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติพิเศษ  คือสามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติ   ในกรณีที่มีงานที่ต้องทำซ้ำๆหรือบ่อยครั้งถ้าใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการทำงานเหล่านั้นก็จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงซึ่งจะได้ทั้งความรวดเร็ว  ถูกต้องแม่นยำและประหยัดเนื่องจากการเขียนคำสั่งเพียงครั้งเดียวสามารถทำงานซ้ำๆได้คราวละจำนวนมากๆ
            3. ความสามารถในการเปรียบเทียบ (Logical)  ในเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยหน่วยคำนวณและตรรกะซึ่งนอกจากจะสามารถในการคำนวณแล้วยังสามารถใช้ในการเปรียบเทียบซึ่งความสามารถนี้เองที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างกับเครื่องคิดเลข และคุณสมบัตินี้ทีทำให้นักคอมพิวเตอร์สร้างโปรแกรมอัตโนมัติขึ้นใช้อย่างกว้างขวาง เช่นการจัดเรียงข้อมูลจำเป็นต้องใช้วิธีการเปรียบเทียบ การทำงานซ้ำๆตามเงื่อนไขที่กำหนด หรือการใช้คอมพิวเตอร์ในกิจการต่างๆซึ่งเกิดขึ้นมากมายในปัจจุบัน และการใช้แรงงานจากคอมพิวเตอร์แทนแรงงานจากมนุษย์ทำให้รวดเร็วถูกต้อง สะดวกและแม่นยำ เป็นการผ่อนแรงมนุษย์ได้เป็นอย่างมาก

กราฟิก  หมายถึง

            ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
กราฟิกประกอบด้วย
            1. ภาพบิตแมพ (
Bitmap) เป็นภาพที่มีการเก็บข้อมูลแบบพิกเซล หรือจุดเล็กๆ ที่แสดงค่าสี ดังนั้นภาพหนึ่งๆ จึงเกิดจากจุดเล็กๆ หลายๆ จุดประกอบกัน (คล้ายๆ กับการปักผ้าครอสติก) ทำให้รูปภาพแต่ละรูป เก็บข้อมูลจำนวนมาก เมื่อจะนำมาใช้ จึงมีเทคนิคการบีบอัดข้อมูล ฟอร์แมตของภาพบิตแมพ ที่รู้จักกันดี ได้แก่ .BMP, .PCX, .GIF, .JPG, .TIF
            2. ภาพเวกเตอร์ (
Vector) เป็นภาพที่สร้างด้วยส่วนประกอบของเส้นลักษณะต่างๆ และคุณสมบัติเกี่ยวกับสีของเส้นนั้นๆ ซึ่งสร้างจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น ภาพของคน ก็จะถูกสร้างด้วยจุดของเส้นหลายๆ จุด เป็นลักษณะของโครงร่าง (Outline) และสีของคนก็เกิดจากสีของเส้นโครงร่างนั้นๆ กับพื้นที่ผิวภายในนั่นเอง เมื่อมีการแก้ไขภาพ ก็จะเป็นการแก้ไขคุณสมบัติของเส้น ทำให้ภาพไม่สูญเสียความละเอียด เมื่อมีการขยายภาพนั่นเอง ภาพแบบ Vector ที่หลายๆ ท่านคุ้นเคยก็คือ ภาพ .wmf ซึ่งเป็น clipart ของ Microsoft Office นั่นเอง นอกจากนี้คุณจะสามารถพบภาพฟอร์แมตนี้ได้กับภาพในโปรแกรม Adobe Illustrator หรือ Macromedia Freehand
            3. คลิปอาร์ต (
Clipart) เป็นรูปแบบของการจัดเก็บภาพ จำนวนมากๆ ในลักษณะของตารางภาพ หรือห้องสมุดภาพ หรือคลังภาพ เพื่อให้เรียกใช้ สืบค้น ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว
            4. HyperPicture มักจะเป็นภาพชนิดพิเศษ ที่พบได้บนสื่อมัลติมีเดีย มีความสามารถเชื่อมโยงไปยังเนื้อหา หรือรายละเอียดอื่นๆ มีการกระทำ เช่น คลิก (Click) หรือเอาเมาส์มาวางไว้เหนือตำแหน่งที่ระบุ (Over)

             

คอมพิวเตอร์กราฟิก  หมายถึง

          การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ยกตัวอย่างเช่น การทำ Image Retouching ภาพคนแก่ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามที่ผู้สื่อสาร ต้องการและน่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยกราฟ แผนภูมิ แผนภาพ เป็นต้น


บทบาทและความสำคัญของคอมพิวเตอร์กราฟิก  


             งานกราฟิกสามารถสื่อความหมายระหว่างผู้ออกแบบกับผู้ชมได้โดยตรงเนื่องจากใช้ ภาพเป็นหลักในการสื่อสาร ทำให้เข้าใจได้ง่าย ถ้าผู้ออกแบบใส่จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ งานกราฟิกชิ้นนั้นก็จะยิ่งมีความน่าสนใจ และมีคุณค่าทางด้านศิลปะอีกด้วย แต่ถ้าภาพที่ใช้สื่อความหมายไม่ชัดเจน ผู้รับก็ไม่สามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้อง


บทบาทและความสำคัญของกราฟิก


             1. การประชาสัมพันธ์ ถือได้ว่างานกราฟิกนี้เป็นงานที่ควบคู่ไปกับงานบริหาร เพราะเนื้อหาของ การประชาสัมพันธ์ที่ออกไปนั้น หากไมดูดความสนใจที่ดีแล้วย่อมไม่สามารถที่จะสื่อความหมายกันระหว่าผู้ชมกับฝ่ายองค์กรได้ 
             2. งานโทรทัศน์ กราฟิกจะเกี่ยวข้องในส่วนที่เป็นหัวเรื่อง(
title)สไลด์ ฯลฯ งานจัดฉากละคร  เช่น การจัดฉากในรูปแบบต่าง ๆ การออกแบบตัวหนังสือ           
              3. นิยมใช้ในงานหนังสือพิมพ์ เพราะทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น
            4. งานออกแบบ หรือแบบร่าง เช่นออกแบบบ้าน        
             6. งานพิมพ์หรือทำสำเนา ทำซิลค์สกรีน  การออกแบบหนังสือ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ต่าง

แอนิเมชัน (Animation)


แอนิเมชัน (Animation) หมายถึง
  
                 คำว่า แอนิเมชั่น (animation) รวมทั้งคำว่า animate และ animator มากจากรากศัพท์ละติน "animare" ซึ่งมีความมหมายว่า ทำให้มีชีวิต ภาพยนตร์แอนิเมชั่นจึงหมายถึงการสร้างสรรค์ลายเส้นและรูปทรงที่ไม่มีชีวิต ให้เคลื่อนไหวเกิดมีชีวิตขึ้นมาได้
                 แอนิเมชั่น (Animation) หมายถึง "การสร้างภาพเคลื่อนไหว" ด้วยการนำภาพนิ่งมาเรียงลำดับกัน  และแสดงผลอย่างต่อเนื่องทำให้ดวงตาเห็นภาพที่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะภาพติดตา (Persistence of Vision) เมื่อตามนุษย์มองเห็นภาพที่ฉาย อย่างต่อเนื่อง เรตินาระรักษาภาพนี้ไว้ในระยะสั้นๆ ประมาณ 1/3 วินาที หากมีภาพอื่นแทรกเข้ามาในระยะเวลาดังกล่าว 
สมองของมนุษย์จะเชื่อมโยงภาพทั้งสองเข้าด้วยกันทำให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีความต่อเนื่องกัน  แม้ว่าแอนิเมชั่นจะใช้หลักการเดียวกับวิดิโอ   แต่แอนิเมชั่นสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานต่างๆได้มากมาย  เช่นงานภาพยนตร์  งานโทรทัศน์  งานพัฒนาเกมส์  งานสถาปัตย์
งานก่อสร้าง งานด้านวิทยาศาสตร์  หรืองานพัฒนาเว็บไซต์  เป็นต้น

 ประเภทของแอนิเมชั่น 

1. Drawn Animation คือแอนิเมชั่นที่เกิดจากการวาดภาพหลายๆพันภาพ  แต่การฉายภาพเหล่านั้นผ่านกล้องอาจใช้เวลาไม่กี่นาที
ข้อดีของการทำแอนิเมชั่นชนิดนี้คือ มีความเป็นศิลปะ  สวยงาม  น่าดูชม  แต่ข้อเสีย คือ ต้องใช้เวลาในการผลิตมาก  ต้องใช้แอนิเมเตอร์จำนวนมากและต้นทุนก็สูงตามไปด้วย
                         

2. Stop Motion หรือเรียกว่า Model Animation เป็นการถ่ายภาพแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อยๆขยับ อาจจะเป็นของเล่นหรืออาจจะสร้างตัวละครจาก Plasticine วัสดุที่คล้ายกับดินน้ำมันโดยโมเดลที่สร้างขึ้นมาสามารถใช้ได้อีกหลายครั้งและยังสามารถผลิตได้หลายตัว  ทำให้สามารถถ่ายทำได้หลายฉากในเวลาเดียวกัน  แต่การทำ Stop Motmotion นั้นต้องอาศัยเวลาและความทุ่มเทมาก เช่น การผลิตภาพยนตร์เรื่อง James and the Giant Peach สามารถผลิตได้ 10 วินาทีต่อวันเท่านั้น วิธีนี้เป็นงานที่ต้องอาศัยความอดทนมาก
                         


3. Computer Animation ปัจจุบันมีซอฟท์ที่สามารถช่วยให้การทำแอนิเมชั่นง่ายขึ้น เช่น โปรแกรม Maya, Macromediaและ 3D Studio Max เป็นต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ประหยัดเวลาการผลิตและประหยัดต้นทุนเป็นอย่างมาก เช่น ภาพยนตร์เรื่องToy Story ใช้แอนิเมเตอร์เพียง 110 คนเท่านั้น
                         


วิดีโอตัวอย่างของแอนิเมชั่น 

ขอบคุณวิดีโอจาก  http://www.youtube.com/watch?v=ZswTSQRWO3I

ขอบคุณวิดีโอจาก http://www.youtube.com/watch?v=yE4IpI7OjmA

แหล่งที่มา :

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

พิชิตพลังงานด้วยการเดินทางมาด้วยกัน



พิชิตพลังงานด้วยการเดินทางมาด้วยกัน

ความหมายของพลังงาน
            พลังงาน คือ ความสามารถที่จะทำงานได้ ความสามารถดังกล่าวนี้เป็นความสามารถของวัตถุใดมีพลังงานวัตถุนั้นก็สามารถทำงานได้และคำว่างานในที่นี้เป็นผลของการกระทำของแรง ซึ่งทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปในแนวของแรงสิ่งใดก็ตามที่สามารถทำให้วัตถุเปลี่ยนตำแหน่งหรือเคลื่อนที่ไปจากที่เดิมได้สิ่งนั้นย่อมมีพลังงานอยู่ภายใน
            พลังงาน คือ ความสามารถที่จะทำงานได้โดยอาศัยแรงงานที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติโดยตรง และที่มนุษย์ใช้ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดัดแปลงใช้จากพลังงานตามธรรมชาติ ตามคำนิยามของนักวิทยาศาสตร์ พลังงาน (Energy) คือ ความสามารถในการทำงาน (Ability to do work) โดยการทำงานนี้อาจจะอยู่ในรูปของการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนรูปของวัตถุก็ได้
            พลังงาน คือ ความสามารถของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะทำงานได้ ซึ่งงานเป็นผลจากการกระทำของแรงเป็นเหตุให้สิ่งนั้นเคลื่อนที่ซึ่งคุณสมบัติโดยทั่วไปของพลังงานมีอยู่ 2 ประการ คือ ทำงานได้และเปลี่ยนรูปได้


ประเภทของพลังงาน
           
เนื่องจากความหลากหลายของพลังงานที่มีอยู่เป็นส่วนหนึ่งที่ ทำให้ผู้ศึกษาอาจเกิดความเข้าใจสับสนจึงได้มีนักวิชาการพยายามที่จะจำแนกอธิบายพลังงานเพื่อให้ง่ายต่อการศึกษามากยิ่งขึ้นพลังงานสามารถจำแนกได้ ดังนี้
จำแนกตามแหล่งที่ได้มา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.    พลังงานต้นกำเนิด (Primary energy) หมายถึง แหล่งพลังงานที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่แล้วตามธรรมชาติสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ได้แก่ น้ำ แสงแดด ลม เชื้อเพลิงตามธรรมชาติ เช่น น้ำมันดิบ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ พลังงานความร้อนใต้พิภพ แร่นิวเคลียร์ ไม้ฟืน แกลบ ชานอ้อย เป็นต้น
 
2.     พลังงานแปรรูป (Secondary energy) หมายถึง สภาวะของพลังงานซึ่งได้มาโดยการนำพลังงานต้นกำเนิดดังกล่าวแล้วข้างต้นมาแปรรูป ปรับปรุง ปรุงแต่ง ให้อยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ กันได้ตามความต้องการ เช่น พลังงานไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ถ่านไม้ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว เป็นต้น
จำแนกตามแหล่งที่นำมาใช้ประโยชน์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.    พลังงานหมุนเวียน (Renewable energy resources) เป็นแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วหมุนเวียนมาให้ใช้เป็นประจำ เช่น น้ำ แสงแดด ลม เป็นต้น 
2.     พลังงานที่ใช้หมดเปลือง (Non - renewable energy resources) ได้แก่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นต้น
จำแนกตามลักษณะการผลิต แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.  พลังงานตามแบบ (Conventional energy) เป็นพลังงานที่ใช้กันอยู่ทั่วไป มีลักษณะการผลิตเป็นระบบศูนย์กลางขนาดใหญ่ใช้เทคโนโลยีที่พัฒนามาจนเกือบอิ่มตัวแล้ว เช่น พลังงานน้ำขนาดใหญ่ น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน เป็นต้น 
2.   พลังงานนอกแบบ (Non - conventional energy) ได้แก่ พลังงานที่ยังมีลักษณะการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ที่กำลังอยู่ในระหว่างการทำวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีหลายชนิดที่มีความเหมาะสมทางเทคนิคแล้ว แต่ยังต้องปรับปรุงความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ เช่น พลังน้ำขนาดเล็ก ก๊าซชีวภาพ ก๊าซจากชีวมวล หินน้ำมัน พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม เป็นต้น
จำแนกตามลักษณะทางการค้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.  พลังงานทางพาณิชย์ (Commercial energy) เป็นพลังงานที่มีการซื้อขายกันในวงกว้างและดำเนินการผลิตในลักษณะอุตสาหกรรม เช่น น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน แร่นิวเคลียร์ ไฟฟ้า เป็นต้น
2.            พลังงานนอกพาณิชย์ (Non - commercial energy) เป็นพลังงานที่มีการซื้อขายกันในวงแคบและดำเนินการผลิตในลักษณะกิจกรรมในครัวเรือนใช้กันมากในชนบท เช่น ฟืน แกลบ ชานอ้อย และมูลสัตว์ เป็นต้น
จำแนกพลังงานตามลักษณะการทำงาน
1.  พลังงานศักย์ (Potential Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุถูกวางอยู่ในตำแหน่งที่สามารถ เคลื่อนที่ได้ไม่ว่าจากแรงโน้มถ่วงหรือแรงดึงดูดจากแม่เหล็ก เช่น ก้อนหินที่วางอยู่บนขอบที่สูง 
2.  พลังงานจลน์ (Kinetic Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ เช่น รถที่กำลังวิ่ง ธนูที่พุ่งออกจากแหล่ง จักรยานที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นต้น  
3.   พลังงานสะสม (Stored Energy) เป็นพลังงานที่เก็บสะสมในวัสดุหรือสิ่งของต่างๆ เช่น พลังงานเคมีที่เก็บสะสมไว้ในอาหาร ในก้อนถ่านหิน น้ำมัน หรือไม้ฟืน ซึ่งพลังงานดังกล่าวจะถูกเก็บไว้ในรูปขององค์ประกอบทางเคมีหรือของวัสดุหรือสิ่งของนั้น ๆ และจะถูกปล่อยออกมาเมื่อวัสดุหรือสิ่งของดังกล่าวมีการเปลี่ยนรูป เช่น การเผาไม้ฟืนจะให้พลังงานความร้อน




• ตรวจสอบลมยางเป็นประจำ เพราะยางที่อ่อนเกินไปนั้น ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่ายาง ที่มีปริมาณลมยางตามที่มาตรฐานกำหนด
• สับเปลี่ยนยางตรวจตั้งศูนย์ล้อตามกำหนดจะช่วยประหยัดน้ำมันเพิ่มขึ้นอีกมาก
• ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อต้องจอดรถนาน ๆ แค่จอดรถติดเครื่องทิ้งไว้
10 นาที ก็เสียน้ำมัน ฟรี ๆ 200 ซีซี
• ไม่ควรติดเครื่องทิ้งไว้เมื่อจอดรถ ให้ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่ขึ้นของ ลงของ หรือคอยคน เพราะการติดเครื่องทิ้งไว้เปลืองน้ำมันและสร้างมลพิษอีกด้วย
• ไม่ออกรถกระชากดังเอี๊ยด การออกรถกระชาก
10 ครั้ง สูญเสียน้ำมันไปเปล่า ๆ ถึง 100 ซีซี น้ำมันจำนวนนี้รถสามารถวิ่งได้ไกล 700 เมตร
• ไม่เร่งเครื่องยนต์ตอนเกียร์ว่างอย่างที่เรียกกันติดปากว่า เบิ้ลเครื่อง การกระทำดังกล่าว
10ครั้งสูญน้ำมันถึง50ซีซีปริมาณน้ำมันขนาดนี้รถวิ่งไปได้ตั้ง350 เมตร
• ตรวจตั้งเครื่องยนต์ตามกำหนด ควรตรวจเช็คเครื่องยนต์สม่ำเสมอ เช่น ทำความสะอาดระบบไฟจุดระเบิด เปลี่ยนหัวคอนเดนเซอร์ ตั้งไฟแก่อ่อนให้พอดีจะช่วยประหยัดน้ำมันได้ถึง
10%
• ไม่ต้องอุ่นเครื่อง หากออกรถและขับช้า ๆ สัก 1-2 กม.แรก เครื่องยนต์จะอุ่นเอง ไม่ต้องเปลืองน้ำมันไปกับการอุ่นเครื่อง
• ไม่ควรบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด เพราะเครื่องยนต์จะทำงานตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หากบรรทุกหนักมาก จะทำให้เปลืองน้ำมันและสึกหรอสูงขึ้น
• ใช้ระบบการใช้รถร่วมกัน หรือคาร์พูล (
Car pool) ไปไหนมาไหน ที่หมายเดียวกัน ทางผ่านหรือใกล้เคียงกัน ควรใช้รถคันเดียวกัน
• เดินทางเท่าที่จำเป็นจริง ๆ เพื่อประหยัดน้ำมัน บางครั้งเรื่องบางเรื่องอาจจะติดต่อกันทางโทรศัพท์ก็ได้ ประหยัดน้ำมัน ประหยัดเวลา
 • ไปซื้อของหรือไปธุระใกล้บ้านหรือใกล้ๆทำงานอาจจะเดินหรือใช้จักรยานบ้างไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ทุกครั้ง เป็นการออกกำลังกายและประหยัดน้ำมันด้วย
• ก่อนไปพบใครควรโทรศัพท์ไปถามก่อนว่าเขาอยู่หรือไม่ จะได้ไม่เสียเที่ยว ไม่เสียเวลา ไม่เสียน้ำมันไปโดยเปล่าประโยชน์
• สอบถามเส้นทางที่จะไปให้แน่ชัด หรือศึกษาแผนที่ให้ดี จะได้ไม่หลง ไม่เสียเวลา ไม่เปลืองน้ำมันในการวนหา
• ควรใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์ อินเตอร์เน็ต หรือใช้บริการส่งเอกสาร แทนการเดินทางด้วยตัวเอง เพื่อประหยัดน้ำมัน
• ไม่ควรเดินทางโดยไม่ได้วางแผนการเดินทาง ควรกำหนดเส้นทาง และช่วงเวลาการเดินทางที่เหมาะ
สมเพื่อประหยัดน้ำมัน

• หมั่นศึกษาเส้นทางลัดเข้าไว้ ช่วยให้ไม่ต้องเดินทางยาวนาน ไม่ต้องเผชิญปัญหาจราจร ช่วยประหยัดทั้งเวลาและประหยัดน้ำมัน
• ควรขับรถด้วยความเร็วคงที่ เลือกขับที่ความเร็ว
70-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงที่ 2,000-2,500 รอบเครื่องยนต์ ความเร็วระดับนี้ ประหยัดน้ำมันได้มากกว่า
•ไม่ควรขับรถลากเกียร์ เพราะการลากเกียร์ต่ำนาน ๆ จะทำให้เครื่องยนต์หมุนรอบสูงกินน้ำมันมาก และเครื่องยนต์ร้อนจัดสึกหรอง่าย
• ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งที่จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้น เช่น การทำให้เกิดการต้านลมขณะวิ่ง หรือทำให้เครื่องยนต์ ไม่สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี
• ไม่ควรใช้น้ำมันเบนซินที่ออกเทนสูงเกินความจำเป็นของเครื่องยนต์เพราะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานโดยเปล่าประโยชน์
• หมั่นเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ไส้กรองน้ำมันเครื่อง ไส้กรองอากาศ ตามระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อประหยัดน้ำมัน
• สำหรับรถเครื่องยนต์เบนซิน ควรเลือกเติมน้ำมันเบนซินให้ถูกชนิด ถูกประเภท โดยเลือก ตามค่าออกเทนที่เหมาะสมกับรถแต่ละยี่ห้อ (สังเกตจากฝาปิดถังน้ำมันด้านใน หรือรับคู่มือที่ปั๊มน้ำมันใกล้บ้าน)
• ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศตลอดเวลา ยามเช้า ๆ เปิดกระจกรับความเย็นจากลม ธรรมชาติบ้างก็สดชื่นดี ประหยัดน้ำมันได้ด้วย
• ไม่ควรเร่งเครื่องปรับอากาศในรถอย่างเต็มที่จนเกินความจำเป็นไม่เปิดแอร์แรง ๆ จนรู้สึก หนาวเกินไป เพราะสิ้นเปลืองพลังงาน






วิธีประหยัดไฟฟ้า





1.ปิดสวิตช์ไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน สร้างให้เป็นนิสัยในการดับไฟทุกครั้งที่ออกจากห้อง
2.เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน ดูฉลากแสดงประสิทธิภาพ

ให้แน่ใจทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ หากมีอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 ต้องเลือกใช้เบอร์ 5
3.ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่จะไม่อยู่ในห้องเกิน
1 ชั่วโมงสำหรับเครื่องปรับอากาศทั่วไป และ 30 นาที สำหรับเครื่องปรับอากาศเบอร์ 54.หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศบ่อยๆ เพื่อลดการเปลืองไฟในการทำงานของเครื่องปรับอากาศ
5.ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่
25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่กำลังสบาย อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศา ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10
6.ไม่ควรปล่อยให้มีความเย็นรั่วไหลจากห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ตรวจสอบและอุดรอยรั่วตามผนัง ฝ้าเพดาน ประตูช่องแสง และปิดประตูห้องทุกครั้งที่เปิดเครื่องปรับอากาศ
7.ลดและหลีกเลี่ยงการเก็บเอกสาร หรือวัสดุอื่นใดที่ไม่จำเป็นต้องใช้งานในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ เพื่อลดการสูญเสีย และใช้พลังงานในการปรับอากาศภายในอาคาร
8.ติดตั้งฉนวนกันความร้อนโดยรอบห้องที่มีการปรับอากาศเพื่อลดการสูญเสียพลังงานจากการถ่ายเทความร้อนเข้าภายในอาคาร
9.ใช้มูลี่กันสาดป้องกันแสงแดดส่องกระทบตัวอาคาร และบุฉนวนกันความร้อนตามหลังคาและฝาผนังเพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักเกินไป
10.หลีกเลี่ยงการสูญเสียพลังงานจากการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ห้องปรับอากาศ ติดตั้งและใช้อุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิดประตูในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ
11.ควรปลูกต้นไม้รอบๆ อาคาร เพราะต้นไม้ขนาดใหญ่
1 ต้นให้ความเย็นเท่ากับเครื่องปรับอากาศ 1 ตัน หรือให้ความเย็นประมาณ 12,000 บีทียู
12.ควรปลูกต้นไม้เพื่อช่วยบังแดดข้างบ้านหรือเหนือหลังคา เพื่อเครื่องปรับอากาศจะไม่ต้องทำงานหนักเกินไป
13.ปลูกพืชคลุมดิน เพื่อช่วยลดความร้อนและเพิ่มความชื้นให้กับดิน จะทำให้บ้านเย็น ไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศเย็นจนเกินไป
14.ในสำนักงาน ให้ปิดไฟ ปิดเครื่องปรับอากาศ และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น ในช่วงเวลา
12.00-13.00 น. จะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้
15.ไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเวลาเริ่มงาน และควรปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเวลาเลิกใช้งานเล็กน้อย เพื่อประหยัดไฟ
16.เลือกซื้อพัดลมที่มีเครื่องหมายมาตรฐานรับรอง เพราะพัดลมที่ไม่ได้คุณภาพ มักเสียง่าย ทำให้สิ้นเปลือง
 
17.หากอากาศไม่ร้อนเกินไป ควรเปิดพัดลมแทนเครื่องปรับอากาศ จะช่วยประหยัดไฟ ประหยัดเงินได้มากทีเดียว
18.ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน ใช้หลอดผอมจอมประหยัดแทนหลอดอ้วน ใช้หลอดตะเกียบแทนหลอดไส้ หรือใช้หลอดคอมแพคท์ฟลูออเรสเซนต์
19.ควรใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟ หรือบัลลาสต์อิเล็กโทรนิกคู่กับหลอดผอมจอมประหยัด จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประหยัดไฟได้อีกมาก
20.ควรใช้โคมไฟแบบมีแผ่นสะท้อนแสงในห้องต่างๆ เพื่อช่วยให้แสงสว่างจากหลอดไฟ กระจายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้หลอดไฟฟ้าวัตต์สูง ช่วยประหยัดพลังงาน
21.หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟที่บ้าน เพราะจะช่วยเพิ่มแสงสว่างโดยไม่ต้องใช้พลังงานมากขึ้น ควรทำอย่างน้อย
4 ครั้งต่อปี
22.ใช้หลอดไฟที่มีวัตต์ต่ำ สำหรับบริเวณที่จำเป็นต้องเปิดทิ้งไว้ทั้งคืน ไม่ว่าจะเป็นในบ้านหรือข้างนอก เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า
23.ควรตั้งโคมไฟที่โต๊ะทำงาน หรือติดตั้งไฟเฉพาะจุด แทนการเปิดไฟทั้งห้องเพื่อทำงาน จะประหยัดไฟลงไปได้มาก
24.ควรใช้สีอ่อนตกแต่งอาคาร ทาผนังนอกอาคารเพื่อการสะท้อนแสงที่ดี และทาภายในอาคารเพื่อทำให้ห้องสว่างได้มากกว่า
25.ใช้แสงสว่างจากธรรมชาติให้มากที่สุด เช่น ติดตั้งกระจกหรือติดฟิล์มที่มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน แต่ยอมให้แสงผ่านเข้าได้เพื่อลดการใช้พลังงานเพื่อแสงสว่างภายในอาคาร
26.ถอดหลอดไฟออกครึ่งหนึ่งในบริเวณที่มีความต้องการใช้แสงสว่างน้อย หรือบริเวณที่มีแสงสว่างพอเพียงแล้ว
27.ปิดตู้เย็นให้สนิท ทำความสะอาดภายในตู้เย็น และแผ่นระบายความร้อนหลังตู้เย็นสม่ำเสมอ เพื่อให้ตู้เย็นไม่ต้องทำงานหนักและเปลืองไฟ
28.อย่าเปิดตู้เย็นบ่อย อย่านำของร้อนเข้าแช่ในตู้เย็น เพราะจะทำให้ตู้เย็นทำงานเพิ่มขึ้น กินไฟมากขึ้น
29.ตรวจสอบขอบยางประตูของตู้เย็นไม่ให้เสื่อมสภาพ เพราะจะทำให้ความเย็นรั่วออกมาได้ ทำให้สิ้นเปลืองไฟมากกว่าที่จำเป็น
30.เลือกขนาดตู้เย็นให้เหมาะสมกับขนาดครอบครัว อย่าใช้ตู้เย็นใหญ่เกินความจำเป็นเพราะกินไฟมากเกินไป และควรตั้งตู้เย็นไว้ห่างจากผนังบ้าน
15 ซม.
31.ควรละลายน้ำแข็งในตู้เย็นสม่ำเสมอ การปล่อยให้น้ำแข็งจับหนาเกินไป จะทำให้เครื่องต้องทำงานหนัก ทำให้กินไฟมาก
32.เลือกซื้อตู้เย็นประตูเดียว เนื่องจากตู้เย็น
2 ประตู จะกินไฟมากกว่าตู้เย็นประตูเดียวที่มีขนาดเท่ากัน เพราะต้องใช้ท่อน้ำยาทำความเย็นที่ยาวกว่า และใช้คอมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่กว่า
33.ควรตั้งสวิตช์ควบคุมอุณหภูมิของตู้เย็นให้เหมาะสม การตั้งที่ตัวเลขต่ำเกินไป อุณหภูมิจะเย็นน้อย ถ้าตั้งที่ตัวเลขสูงเกินไปจะเย็นมากเพื่อให้ประหยัดพลังงานควรตั้งที่เลขต่ำที่มีอุณหภูมิพอเหมาะ
34.ไม่ควรพรมน้ำจนแฉะเวลารีดผ้า เพราะต้องใช้ความร้อนในการรีดมากขึ้น เสียพลังงานมากขึ้น เสียค่าไฟเพิ่มขึ้น
35.ดึงปลั๊กออกก่อนการรีดเสื้อผ้าเสร็จ เพราะความร้อนที่เหลือในเตารีด ยังสามารถรีดต่อได้จนกระทั่งเสร็จ ช่วยประหยัดไฟฟ้า
36.เสียบปลั๊กครั้งเดียว ต้องรีดเสื้อให้เสร็จ ไม่ควรเสียบและถอดปลั๊กเตารีดบ่อยๆ เพราะการทำให้เตารีดร้อนแต่ละครั้งกินไฟมาก
37.ลด ละ เลี่ยง การใส่เสื้อสูท เพราะไม่เหมาะสมกับสภาพอากาศเมืองร้อน สิ้นเปลืองการตัด ซัก รีด และความจำเป็นในการเปิดเครื่องปรับอากาศ
38.ซักผ้าด้วยเครื่อง ควรใส่ผ้าให้เต็มกำลังของเครื่อง เพราะซัก
1 ตัวกับซัก 20 ตัว ก็ต้องใช้น้ำในปริมาณเท่าๆ กัน
39ไม่ควรอบผ้าด้วยเครื่อง เมื่อใช้เครื่องซักผ้า เพราะเปลืองไฟมาก ควรตากเสื้อผ้ากับแสงแดดหรือแสงธรรมชาติจะดีกว่า ทั้งยังช่วยประหยัดไฟได้มากกว่า
40.ปิดโทรทัศน์ทันทีเมื่อไม่มีคนดู เพราะการเปิดทิ้งไว้โดยไม่มีคนดู เป็นการสิ้นเปลืองไฟฟ้าโดยใช่เหตุ แถมยังต้องซ่อมเร็วอีกด้วย
41.ไม่ควรปรับจอโทรทัศน์ให้สว่างเกินไป และอย่าเปิดโทรทัศน์ให้เสียงดังเกินความจำเป็น เพราเปลืองไฟ ทำให้อายุเครื่องสั้นลงด้วย
42.อยู่บ้านเดียวกัน ดูโทรทัศน์รายการเดียวกัน ก็ควรจะดูเครื่องเดียวกัน ไม่ใช่ดูคนละเครื่อง คนละห้อง เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน
43.เช็ดผมให้แห้งก่อนเป่าผมทุกครั้ง ใช้เครื่องเป่าผมสำหรับแต่งทรงผม ไม่ควรใช้ทำให้ผมแห้ง เพราะต้องเป่านาน เปลืองไฟฟ้า
44.ใช้เตาแก๊สหุงต้มอาหาร ประหยัดกว่าใช้เตาไฟฟ้า เตาอบไฟฟ้าและควรติดตั้งวาล์วนิรภัย (
Safety Value) เพื่อความปลอดภัยด้วย
45.เวลาหุงต้มอาหารด้วยเตาไฟฟ้า ควรจะปิดเตาก่อนอาหารสุก
5 นาที เพราะความร้อนที่เตาจะร้อนต่ออีกอย่างน้อย 5 นาทีเพียงพอที่จะทำให้อาหารสุกได้
46.อย่าเสียบปลั๊กหม้อหุงข้าวไว้ เพราะระบบอุ่นจะทำงาน

ตลอดเวลา ทำให้สิ้นเปลืองไฟเกินความจำเป็น
47.กาต้มน้ำไฟฟ้า ต้องดึงปลั๊กออกทันทีเมื่อน้ำเดือด อย่าเสียบไฟไว้เมื่อไม่มีคนอยู่ เพราะนอกจากจะไม่ประหยัดพลังงานแล้วยังอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้
48.แยกสวิตช์ไฟออกจากกัน ให้สามารถเปิดปิดได้เฉพาะจุด ไม่ใช้ปุ่มเดียวเปิดปิดทั้งชั้น ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองและสูญเปล่า
49.หลีกเลี่ยงการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ต้องมีการปล่อยความร้อน
เช่น กาต้มน้ำ หม้อหุงต้ม ไว้ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ
50.ซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ และหมั่นทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่เสมอ จะทำให้ลดการสิ้นเปลืองไฟได้
51.อย่าเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้ถ้าไม่ใช้งาน ติดตั้งระบบลดกระแสไฟฟ้าเข้าเครื่องเมื่อพักการทำงาน จะประหยัดไฟได้ร้อยละ
35-40และถ้าหากปิดหน้าจอทันทีเมื่อไม่ใช้งาน จะประหยัดไฟได้ร้อยละ 60
52.ดูสัญลักษณ์
Energy Star ก่อนเลือกซื้ออุปกรณ์สำนักงาน(เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องโทรสาร เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าเครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ) ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงาน ลดการใช้กำลังไฟฟ้า เพราะจะมีระบบประหยัดไฟฟ้าอัตโนมัติ

แหล่งที่มา :
http://www.eppo.go.th/encon/encon-108-T.html
http://www.baanjomyut.com/library_2/energy_and_quality_of_life/01.html
http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/secretary/Homepage/maintainance/saving_oil.html


ทางเดียวกันไปด้วยกัน




ขอบคุณที่มา : www.youtube.com



วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความรู้เบื้องต้นเรื่องระบบชื่อโดเมน


ความรู้เบื้องต้นเรื่องระบบชื่อโดเมน


ระบบชื่อโดเมน (Domain Name System) หรือ ดีเอ็นเอส (DNS)  เป็นระบบการตั้งชื่อให้กับ "ทรัพยากรเครือข่ายแต่ที่พบโดยทั่วไปคือการตั้งชื่อโฮสต์เพื่อใช้แทนไอพีแอดเดรส ดีเอ็นเอสเป็นระบบชื่อที่มีฐานข้อมูลแบบกระจาย โดยไม่มีหน่วยงานหรือสถาบันใดควบคุมหรือมีฐานข้อมูลเดี่ยวครอบคลุมทั้งอินเทอร์เน็ต แต่ละเครือข่ายในอินเทอร์เน็ตจะมีดีเอ็นเอสเซอร์ฟเวอร์เก็บรักษาฐานข้อมูลและบริหารข้อมูลอย่างอิสระ เพื่อให้ไคลเอ็นต์ขอบริการสอบถามข้อมูลตามแบบโปรโตคอลที่กำหนด ดีเอ็นเอสจึงเป็นทั้งระบบการตั้งชื่อและโปรโตคอลรวมอยู่ด้วยกัน
การติดต่อกับผู้ใช้งานประจำเครื่องใดๆ เช่นการส่งอิเล็กทรอนิกส์เมลอาจใช้ไอพีแอดเดรสระบุถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางได้เช่น somchai@176.16.0.1 หรือใช้เบราเซอร์เปิดอ่านเว็บเพจโดยใช้ http://192.0.34.65 แต่การใช้ไอพีแอดเดรสดังตัวอย่างที่กล่าวมานั้นไม่อำนวยสะดวกต่อการจดจำ ในอินเทอร์เน็ตจึงใช้วิธีตั้งชื่อให้กับเครื่องเพื่อให้ผู้ใช้จดจำได้ง่ายกว่าตัวอย่างเช่นอีเมลแอดเดรสข้างต้นอาจเขียนแทนด้วย somchai@ku.ac.th หรือการเปิดอ่านเว็บเพจโดยใช้ http://www.isoc.org
เมื่อใช้ชื่อแทนไอพีแอดเดรสสำหรับเรียกใช้บริการหนึ่งๆ โปรแกรมประยุกต์ที่เกี่ยวข้องกับบริการนั้นจะใช้กลไกของระบบเพื่อแปลงชื่อไปเป็นไอพีแอดเดรส และนำไอพีแอดเดรสนั้นติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางต่อไป
การใช้งานในยุคต้น
ในยุคแรกเริ่มของการใช้ชื่อทดแทนแอดเดรส ระบบฐานข้อมูลซึ่งเก็บชื่อเครื่องที่สมนัยกับไอพีแอดเดรสเป็นฐานข้อมูลเดี่ยว ฐานข้อมูลนี้ดูแลโดยศูนย์สารสนเทศเครือข่ายสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด (Stanford Research Institute's Network Information Center หรือ SRI-NIC) เครือข่ายใดที่ต้องการใช้ฐานข้อมูลจะต้องใช้โปรโตคอลถ่ายโอนแฟ้ม หรือ เอฟทีพี (FTP : File Transfer Protocol) เพื่อนำรายชื่อและแอดเดรสไปใช้งาน ฐานข้อมูลกลางจะปรับปรุงใหม่อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้แต่ละเครือข่ายถ่ายโอนข้อมูลล่าสุดไปใช้ รูปแบบเช่นนี้เป็นวิธีปฏิบัติที่ไม่เป็นปัญหาในยุคต้นเนื่องจากจำนวนเครือข่ายและคอมพิวเตอร์จำกัดอยู่ในหน่วยงานราชการและสถาบันการศึกษา แต่เมื่อจำนวนเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น กระบวนการถ่ายโอนเริ่มพบปัญหาอุปสรรคได้แก่
·การปรับปรุงฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ไม่ตอบสนองกับอัตราการเพิ่มของคอมพิวเตอร์ได้อย่างทันท่วงที
·ฐานข้อมูลมีขนาดใหญ่มากขึ้น การถ่ายโอนใช้เวลาและใช้ช่องสัญญาณมากทำให้กระทบต่อการใช้งานอื่น
·ฐานข้อมูลเดิมเก็บชื่อเป็นระดับเดียวกัน ทำให้เกิดปัญหาการจัดการเมื่อมีผู้ขอตั้งชื่อเหมือนกัน
ด้วยเหตุนี้จึงมีแนวคิดในการปรับปรุงระบบให้บริการชื่อเครื่องใหม่ ระบบการแปลงชื่อปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบอัตโนมัติที่ใช้วิธีการกระจายฐานข้อมูล มีโปรโตคอลสำหรับเชื่อมต่อฐานข้อมูลนั้นและปรับปรุงข้อมูลโดยอัตโนมัติ รูปแบบการตั้งชื่อมีโครงสร้างแบบลำดับชั้นป้องกันการตั้งชื่อซ้ำซ้อน ระบบดังกล่าวนี้อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของโปรโตคอล ดีเอ็นเอส (DNS : Domain Name System) หรือเรียกว่า ระบบชื่อโดเมน
ระบบชื่อโดเมนเป็นบริการที่มีความสำคัญอย่างมากในอินเทอร์เน็ต หากระบบชื่อโดเมนไม่สามารถให้บริการได้อาจกล่าวได้ว่าบริการอื่นในอินเทอร์เน็ตจะหยุดชะงักลง ระบบชื่อโดเมนมีฐานข้อมูลแบบกระจายโดยไม่มีหน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใดควบคุมฐานข้อมูลเดี่ยวทั้งหมด แต่ละเครือข่ายจะมีเซิร์ฟเวอร์เก็บรักษาฐานข้อมูลและบริหารข้อมูลอย่างอิสระ แต่ละเซิร์ฟเวอร์จะสื่อสารกันด้วยโปรโตคอลดีเอ็นเอสและให้ไคลเอ็นต์ในอินเทอร์เน็ตขอบริการสอบถามข้อมูล ดีเอ็นเอสจึงเป็นทั้งระบบการตั้งชื่อและโปรโตคอลรวมอยู่ด้วยกัน
รูปแบบการเขียน
การเขียนชื่อคอมพิวเตอร์ประจำโดเมนใดๆจะเริ่มต้นจากชื่อเครื่องตามด้วยชื่อโดเมนย่อยที่คั่นด้วยจุดและปิดท้ายด้วยจุดซึ่งแสดงถึงจุดบนสุดหรือเรียกว่า ราก  (root)
เครื่องหมายจุดเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ระบุว่าชื่อได้สิ้นสุดโดยไม่มีชื่อต่อท้ายอีก และเรียกชื่อชื่อนั้นว่าเป็นชื่อสัมบูรณ์ (absolute name) ทั้งนี้เพื่อป้องกันความสับสนกับชื่อที่เขียนแบบสัมพัทธ์ ตัวอย่างเช่นชื่อ www.moe.go.th. มีความหมายดังต่อไปนี้
· www           ชื่อเครื่อง (host name)
· moe             ชื่อโดเมนกระทรวงศึกษาธิการ
· go               ชื่อโดเมนในหมวดหน่วยงานราชการ
· th                ชื่อโดเมนสัญชาติไทย
·  .                  สัญลักษณ์แทนราก
รูปแบบการเขียนชื่อคอมพิวเตอร์ที่ระบุทั้งชื่อเครื่องและชื่อโดเมนที่สังกัดเต็มรูปแบบโดยปิดท้ายด้วยเครื่องหมายจุดเป็นรูปแบบการเขียนที่สมบูรณ์ และเรียกชื่อที่เขียนในลักษณะนี้ว่า FQDN (Fully Qualified Domain Name)
ประโยชน์จากการใช้ชื่อตามโครงสร้างแบบนี้คือทำให้ชื่อในโดเมนหนึ่งจะมีได้เพียงชื่อเดียวโดยไม่ซ้ำซ้อนกันไม่ว่าอินเทอร์เน็ตจะมีขนาดใหญ่เพียงใดหรือมีจำนวนโดเมนย่อยเท่าใด เพราะเครื่องที่อยู่ต่างโดเมนถึงแม้จะมีชื่อเครื่องหรือชื่อโดเมนย่อยเหมือนกัน หากแต่การสังกัดอยู่ในชื่อโดเมนระดับบนที่ต่างกันย่อมมี FQDN ที่แตกต่างกันและถือว่ามีชื่อต่างกัน ตัวอย่างเช่น www.name.co.th ถือว่ามีชื่อโดเมนต่างจาก www.name.com ในอีกแง่มุมหนึ่งแล้วประโยชน์ของชื่อโดเมนแบบโครงสร้างคือช่วยให้สามารถตั้งชื่อเครื่องได้หลากหลายในหมวดชื่อโดเมนต่างๆ

ระบบชื่อโดเมนในอินเทอร์เน็ตมีการจัดแบ่งตามโครงสร้างลำดับชั้น (Hierarchical) และใช้ฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed) ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายช่วยให้บริการชื่อโดเมนใน องค์กรใดๆที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบชื่อโดเมนไม่จำเป็นต้องเก็บรักษาสำเนาข้อมูลชื่อโดเมนที่มีอยู่ทั้งหมด หากแต่ระบบสามารถเชื่อมถึงกันทางเครือข่ายเพื่อสืบค้นและแลกเปลี่ยนข้อมูลรวมทั้งใช้ฐานข้อมูลร่วมกันโดยอัตโนมัติ โครงสร้างตามลำดับชั้นของระบบชื่อโดเมนเปรียบเทียบได้กับการแบ่งองค์กรเช่นภายในบริษัทอาจแบ่งออกเป็นแผนกย่อย แต่ละแผนกอาจแบ่งย่อยเป็นฝ่าย หรืออาจเปรียบเทียบกับการแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ออกเป็นประเทศ จังหวัด อำเภอ ตำบล เป็นต้น
อินเทอร์เน็ตดีเอ็นเอสมีโครงสร้างตามลำดับชั้นแบบโครงสร้างต้นไม้กลับหัวดังรูปที่ 1 โครงสร้างอยู่ภายใต้ต้นไม้รากเดี่ยวและแตกกิ่งก้านมาเป็นลำดับ ส่วนปลายสุดเป็นจุดที่ไม่สามารถแตกกิ่งออกไปได้อีกจะเป็นชื่อเครื่อง ตัวอย่างเช่น tpt.nectec.or.th หมายถึงเครื่อง tpt ของโดเมน nectec.or.th หรือ cc.usu.edu คือเครื่อง cc ของโดเมน usu.edu
โครงสร้างต้นไม้ทั้งโครงสร้างเรียกโดยทั่วไปว่า โดเมนเนมสเปซ (domain name space) หรือเรียกสั้นๆว่า เนมสเปซ หรือหากต้องการกล่าวเจาะจงถึงอินเทอร์เน็ตก็เรียกว่า อินเทอร์เน็ตเนมสเปซ หากพิจารณารูปที่ 1 อินเทอร์เน็ตเนมสเปซมี 3 กลุ่มใหญ่ ความหมายของแต่ละกลุ่มจะกล่าวโดยละเอียดภายหลัง
รูปที่ 1 โครงสร้างลำดับชั้นของดีเอ็นเอส

ชื่อโดเมน
แต่ละโหนดในเนมสเปซมีชื่อกำกับเพื่อใช้เรียกยกเว้น ราก (root)  ซึ่งอยู่บนสุดไม่ต้องมีชื่อกำกับ โหนดหนึ่งๆอาจแตกออกเป็นโหนดย่อยระดับล่างลงไปได้หลายชั้น ชื่อโดเมน (domain name) คือชื่อที่กำกับประจำโหนดและเรียกชื่อโดยไล่ลำดับจากโหนดนั้นตามเส้นทางขึ้นไปยังราก   ในโดเมนหนึ่งหนึ่งอาจมี โดเมนย่อย (sub domain) ลงไปได้หลายระดับชั้น เช่น ac.th หรือ or.th เรียกได้ว่าเป็นโดเมนย่อยของโดเมน .th หรือหากพิจารณาในระดับองค์กรเช่นตัวอย่างในรูปที่ 2 แสดงถึงโดเมนย่อยของ ku.ac.th ซึ่งได้แก่ agr.ku.ac.th, eng.ku.ac.th และ sci.ku.ac.th รวมทั้งโดเมนย่อยของ exam.com ได้แก่ engr.exam.com และ sales.exam.com

รูปที่ 2 โดเมนย่อย

จำนวนโดเมนย่อยหรือระดับชั้นในโดเมนหนึ่งๆขึ้นอยู่กับผู้ดูแลระบบจะกำหนด จำนวนระดับชั้นของชื่อโดเมนไม่มีความสัมพันธ์กับไอพีแอดเดรสแต่อย่างใด ชื่อโดเมนทางซ้ายจะบ่งบอกชื่อเครื่องที่เจาะจงมากขึ้น  ชื่อโดเมนทางขวาจึงบ่งถึงโดเมนที่ใหญ่ขึ้นเป็นลำดับ ลักษณะนี้ต่างจากไอพีแอดเดรสที่ตัวเลขทางขวาบ่งบอกโฮสต์ที่เฉพาะเจาะจงมากกว่าทางซ้าย ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นชื่อโดเมนที่มีจำนวนโดเมนย่อยแตกต่างกัน
·  www.ee.eng.chula.ac.th  n    เครื่อง www ของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาฯ
·  www.tu-muenchen.de           เครื่อง www ที่มหาวิทยาลัยมิวนิค ประเทศเยอรมัน
· ftp.mci.com                               เครื่อง ftp ของบริษัท MCI
· hp.com                                       เครื่อง hp ของบริษัทฮิวเล็ต-แพคการ์ต

โดเมนสัมบูรณ์และโดเมนสัมพัทธ์
ชื่อโดเมนที่เขียนตามเส้นทางจากโหนดหนึ่งๆไปสิ้นสุดที่ราก เรียกว่า ชื่อโดเมนสัมบูรณ์ (Absolute domain name) ชื่อโดเมนที่เขียนเพียงบางส่วนเรียกว่า ชื่อโดเมนสัมพัทธ์   (Relative domain name)
ชื่อโดเมนสัมบูรณ์โดยปกติแล้วจะปิดท้ายด้วยจุดเพื่อแสดงว่าสิ้นสุดที่ราก และเพื่อให้แยกแยะความแตกต่างจากโดเมนสัมพัทธ์ได้ เช่น tpt.nectec.or.th. แต่ในทางปฏิบัติมักละเครื่องหมายจุดไว้เพราะชื่อโดเมนมักแสดงถึงโดเมนสัมบูรณ์อยู่ในตัวเอง บางโปรแกรมประยุกต์เช่นโปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้จุดปิดท้ายโดเมนแม้ว่าจะใช้ชื่อนั้นในฐานะของโดเมนสัมบูรณ์ก็ตาม
ดีเอ็นเอสมีชื่อโดเมนสัมพัทธ์เพื่อความสะดวกในการอ้างอิง ดีเอ็นเอสถือว่าชื่อโดเมนที่ไม่ลงท้ายด้วยจุดคือโดเมนสัมพัทธ์และจะสร้างชื่อโดเมนสัมบูรณ์ให้ เช่นผู้ใช้อาจพิมพ์เพียง tpt และให้ดีเอ็นเอสเติมชื่อโดเมน nectec.or.th. ต่อท้าย ก่อนดำเนินการเช่นนี้ได้ดีเอ็นเอสจำเป็นต้องทราบถึงชื่อโดเมนประจำเครือข่ายก่อน วิธีการกำหนดชื่อโดเมนประจำเครือข่ายจะขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ใช้ ตัวอย่างเช่นในระบบปฏิบัติการยูนิกซ์กำหนดชื่อโดเมนประจำเครือข่ายและข้อมูลอื่นไว้ในแฟ้ม /etc/resolv.conf
โดเมนระดับบนสุด (Top-Level Domains) หรือเขียนย่อว่า TLDs หมายถึงชื่อโดเมนที่ระบุถึงกลุ่มโดเมนระดับบน กลุ่มโดเมนเหล่านี้ไม่อยู่ภายใต้สังกัดใด โดเมนระดับบนสุดในปัจจุบันจัดแบ่งออกเป็นสามประเภทใหญ่ (ดูรูปที่ 1) คือ
·   โดเมนทั่วไป (generic domain) เป็นชื่อโดเมนที่จัดตามกลุ่มองค์กร
·   โดเมนรหัสประเทศ (country code domain)  ชื่อโดเมนจากรหัสประเทศ
·   โดเมนอาร์พา ชื่อโดเมนสำหรับใช้แปลงไอพีแอดเดรสไปหาชื่อเครื่อง

โดเมนทั่วไป
โดเมนประเภทนี้เป็นชื่อโดเมนระดับบนสุดและมักเรียกว่าโดเมนระดับบนสุดแบบทั่วไป (Generic Top Level Domains : gTLDs) ชื่อโดเมนประเภทนี้เป็นกลุ่มโดเมนขององค์กร ซึ่งในระยะแรกเริ่มมี 7 หมวดได้แก่ .com, .edu, .gov, .int, .mil, .net และ .org ความหมายและตัวอย่างของแต่ละชื่อโดเมนแสดงได้ดังตารางที่ 1
โดเมนทั้ง 7 หมวดนี้มีขอบเขตการใช้งานแตกต่างกัน โดยโดเมน .gov และ .mil จำกัดการใช้อยู่เฉพาะในสหรัฐอเมริกาเนื่องจากเป็นประเทศต้นกำเนิดของอินเทอร์เน็ต l ส่วนชื่อโดเมนอื่นอนุญาตให้ใช้โดยไม่จำกัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวด   .com, .net และ .org  มีผู้นิยมจดทะเบียนอย่างแพร่หลายทั่วโลก สำหรับการจดทะเบียนชื่อโดเมน .edu ส่วนใหญ่จะเป็นสถาบันการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนชื่อโดเมน .int จดทะเบียนได้เฉพาะหน่วยงานภายใต้สนธิสัญญาหรือมีพันธกิจนานาชาติเท่านั้น

ตารางที่ 1 โดเมนระดับบนสุดแบบทั่วไปดั้งเดิมในอินเทอร์เน็ต

โดเมน
กลุ่ม
ตัวอย่าง
.com
องค์กรธุรกิจการค้า (Commercial organizations)
sun.com, microsoft.com
.edu
สถาบันการศึกษา (Educational organizations)
mit.edu, standford.edu
.gov
หน่วยงานรัฐบาลของสหรัฐ (Government organizations)
nasa.gov, doc.gov
.int
องค์กรนานาชาติ (International organizations)
nato.int, sadc.int
.mil
หน่วยงานทางทหารของสหรัฐ (Military organizations)
army.mil, navy.mil
.net
หน่วยงานเครือข่าย (Networking organizations)
nyser.net, sura.net
.org
องค์กรจัดตั้ง (Organizations) เช่นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร หรือหน่วยงานที่ไม่เข้ากลุ่มอื่น
mitre.org, acm.org

จากความต้องการใช้ชื่อโดเมนที่มีเพิ่มมากขึ้น เมื่อเดือนกันยายน 2543 ไอแคนซึ่งเป็นองค์กรบริหารระบบชื่อโดเมนในอินเทอร์เน็ตได้ประกาศใช้ชื่อโดเมนระดับบนสุดแบบทั่วไปใหม่อีก 7 หมวด ได้แก่ .aero, .biz, .coop, .info, .museum,  .name และ .pro  รายละเอียดการใช้แต่ละชื่อโดเมนแสดงไว้ในตารางที่ 2 

ตารางที่  2 ชื่อโดเมนระดับบนสุดใหม่ที่ไอแคนประกาศเพิ่ม
โดเมน
กลุ่ม
ตัวอย่าง
.aero
การอากาศยาน
ชื่อโดเมนเฉพาะองค์กรด้านการขนส่งทางอากาศยาน โดยสมาคมการขนส่งทางอากาศยานนานาชาติ หรือSociete Internationale de Telecommunications Aeronautiques (SITA) เป็นผู้บริหารนโยบาย
.biz
องค์กรธุรกิจ
ชื่อโดเมนสำหรับการธุรกิจ แต่ต่างจาก .com ในแง่ที่ผู้จดทะเบียนต้องประกอบการธุรกิจจดทะเบียนเท่านั้น โดเมนนี้จึงไม่อนุญาตให้จดทะเบียนโดยบุคคลหรือองค์กรที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจ
.coop
สหกรณ์
ชื่อโดเมนเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการสหกรณ์ โดยสหพันธ์สหกรณ์นานาชาติ หรือ International Cooperative Alliance (ICA) เป็นผู้บริหารนโยบาย
.info
ข้อมูลข่าวสาร
ชื่อโดเมนสำหรับจดทะเบียนทั่วไป ถึงแม้ว่าชื่อโดเมนจะสื่อถึง บริการข้อมูลข่าวสาร” แต่ในทางปฏิบัติแล้วจะเปิดให้จดทะเบียนโดยไม่มีข้อจำกัด ทั้งนี้เพื่อเป็นการแข่งขันกับโดเมนในกลุ่ม .com, .net และ.org
.museum
พิพิธภัณฑ์
ชื่อโดเมนสำหรับพิพิธภัณฑ์ การจดทะเบียนจะอนุญาตเฉพาะพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของสภาพิพิธภัณฑ์นานาชาติ หรือ International Council of Museums (ICOM)
.name
บุคคล

ชื่อโดเมนสำหรับบุคคลทั่วไป การจดทะเบียนจะต้องจดชื่อระดับที่สามในรูปแบบ firstname.lastnameตัวอย่างเช่น john.smith.name การจดทะเบียนจะไม่มีการครอบครองชื่อโดเมนระดับที่สอง และให้บริการจดทะเบียนตามลำดับการร้องขอ
.pro
ผู้ประกอบ
วิชาชีพ
ชื่อโดเมนผู้ประกอบวิชาชีพ (professionals) เช่น แพทย์ วิศวกร ทนายความ ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคว่าผู้จดทะเบียนอยู่ในสายวิชาชีพนั้นอย่างแท้จริง นโยบายการบริหารชื่อโดเมนจะดำเนินการโดยสมาคมหรือสหพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ
 

โดเมนรหัสประเทศ
ชื่อโดเมนในกลุ่มนี้จะใช้รหัสประเทศที่ประกอบด้วยอักขระสองตัวตามมาตรฐาน ISO 3166-1 เช่น .jp, .br, .au หรือ .ca เป็นต้น ชื่อโดเมนประเภทนี้จึงเรียกว่า ชื่อโดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (Country Code Top Level Domains) หรือเขียนโดยย่อว่า ccTLDs  ในปัจจุบันมี ccTLDs รวมทั้งสิ้น 244 ชื่อ ในจำนวนนี้มีเพียงสหราชอาณาจักรที่มิได้ใช้ชื่อย่อตามมาตรฐาน ISO 3166-1 กล่าวคือในมาตรฐาน ISO 3166-1 ใช้ gb แต่ชื่อโดเมนที่ใช้คือ .uk                  ตารางที่ 3 แสดงตัวอย่างชื่อโดเมนระดับบนสุดประจำประเทศ 
โดเมน
ชื่อประเทศ
โดเมน
ชื่อประเทศ
.at
ออสเตรีย
.es
สเปน
.au
ออสเตรเลีย
.fr
ฝรั่งเศส
.ca
แคนาดา
.jp
ญี่ปุ่น
.ch
สวิตเซอร์แลนด์
.kr
เกาหลี
.de
เยอรมัน
.uk
สหราชอาณาจักร


ชื่อโดเมนหนึ่งๆไม่ได้มีส่วนสัมพันธ์กับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของคอมพิวเตอร์ ชื่อโดเมนระดับบนสุดเช่น .th ถึงแม้จะบ่งบอกถึงประเทศไทย แต่เครื่องที่ใช้ชื่อโดเมน .th อาจตั้งอยู่ในประเทศใดๆก็ได้ นอกจากนี้เครื่องหนึ่งๆยังสามารถจดทะเบียนได้มากกว่าหนึ่งชื่อ ชื่อโดเมนจึงบอกเพียงว่าเครื่องนั้นจดทะเบียนในสังกัดของชื่อโดเมนที่ระบุเท่านั้น

โดเมนอาร์พา
โปรแกรมประยุกต์บางโปรแกรมต้องการตรวจสอบว่าไอพีที่ใช้งานมีชื่อใดหรือผู้ใช้อาจต้องการทราบชื่อโฮสต์จากไอพีแอดเดรสที่มีอยู่ การแปลงไอพีแอดเดรสกลับไปเป็นชื่อจึงเป็นอีกบริการหนึ่งที่ดีเอ็นเอสต้องจัดเตรียมไว้
ในเนมสเปซที่ได้ศึกษามาตั้งแต่ต้น เราทราบว่าแต่ละโหนดมีชื่อกำกับเพื่อใช้ค้นหาไอพีแอดเดรสหรือใช้ชื่อเป็นดรรชนีค้นหาไอพีแอดเดรส แต่หากต้องสืบค้นชื่อในเนมสเปซโดยไม่มีดรรชนีย่อมเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะจะต้องเริ่มค้นจากรากเข้าไปในทุกจุดจนกว่าจะพบชื่อที่ตรงกับไอพีแอดเดรสที่ต้องการ วิธีช่วยค้นจึงต้องจำเป็นต้องจัดให้มีดรรชนีไอพีแอดเดรสในทำนองเดียวกับดรรชนีโดเมน วิธีการนี้ทำได้โดยการปรับแปลงไอพีแอดเดรสที่มีอยู่ทั้งหมดให้เป็นเสมือนชื่อโดเมนตามลำดับชั้นและวางตำแหน่งของไอพีแอดเดรสนี้ให้อยู่ภายใต้โดเมนที่จัดขึ้นมาโดยเฉพาะซึ่งได้แก่โดเมน .in-addr.arpa
เนื่องจากไอพีแอดเดรสแบ่งออกเป็น 4 หลัก แต่ละหลักมีได้ 256 ค่า จาก 0 ถึง 255 โดเมนที่อยู่ภายใต้โดเมน .in-addr.arpa จึงจัดให้มีได้ 256 โดเมนย่อยจาก 0 ถึง 255  โดเมนย่อยระดับแรกจะสมนัยกับอ็อกเท็ต  แรกของไอพีแอดเดรส แต่ละโดเมนที่เป็นตัวเลขต่างก็มีโดเมนย่อยลงไปอีก 256 โดเมนย่อยและสมนัยกับอ็อกเท็ตที่สองของไอพีแอดเดรส จนกระทั่งถึงโดเมนย่อยสุดท้ายที่สมนัยกับอ็อกเท็ตที่สี่ของไอพีแอดเดรสและมีตัวชี้ไปยังชื่อโดเมนที่ต้องการ
ชื่อโดเมนจากซ้ายไปขวาแสดงความเจาะจงมากไปสู่ความเจาะจงน้อย ซึ่งกลับทิศทางกับไอพีแอดเดรสที่เขียนแสดงความเจาะจงจากน้อยไปมาก การเขียนโดเมนของไอพีแอดเดรสจึงสลับลำดับกันเพื่อให้เข้ากับหลักการของชื่อโดเมน เช่น 158.108.2.71 เป็นไอพีแอดเดรสของเครื่อง nontri.ku.ac.th จะมีชื่อโดเมนประจำคือ 71.2.108.158.in-addr.arpa การสืบค้นชื่อจากแอดเดรส 158.108.2.71 จะต้องเริ่มจาก .arpa, .in-addr และ .158, .108, .2 และ .71 ตามลำดับ แอดเดรสลักษณะนี้จึงเรียกว่า แอดเดรสผกผัน (Reverse address) ซึ่งสื่อถึงแอดเดรสที่เขียนกลับทิศกับไอพีแอดเดรสตามแบบปกติ (Forward address) โครงสร้างชื่อโดเมน .in-addr.arpa มีลักษณะดังรูปที่ 3
โครงสร้างต้นไม้กลับหัวที่แสดงถึงระบบชื่อโดเมนเช่นในรูปที่ 3 เป็นเพียงรูปเชิงนามธรรมที่อธิบายถึงภาพโดยรวมของดีเอ็นเอสในอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตามที่กล่าวไว้แล้วว่าไม่มีหน่วยงานใดที่มีฐานข้อมูลคลุมทั้งโครงสร้าง หากแต่ใช้การ มอบอำนาจการดูแลโดเมน (domain delegation)
                            
รูปที่ 3 แอดเดรส 71.2.108.158.in-addr.arpa ในโครงสร้างแอดเดรสผกผัน

ความหมายของการมอบอำนาจการดูแลโดเมนคือ ผู้ดูแลโดเมนระดับบนไม่จัดการโดเมนระดับล่างโดยตรง หากแต่ให้ผู้ดูแลโดเมนระดับล่างมีสิทธิ์ขาดในการดำเนินการทุกอย่างในโดเมนระดับล่างนั้น ผู้ดูแลโดเมนย่อยอาจเพิ่มชื่อเครื่องในฐานข้อมูลหรือสร้างโดเมนย่อยได้ตามต้องการ ในโดเมนย่อยหนึ่งๆหากมีโดเมนย่อยลงไปอีกก็อาจจะใช้วิธีมอบอำนาจเพื่อลดภาระการดูแลได้ในทำนองเดียวกัน ลักษณะเช่นนี้อาจเปรียบเทียบกับระบบงานในบริษัทที่ผู้จัดการฝ่ายอาจมอบหมายงานให้หัวหน้าแผนกรับผิดชอบงานเป็นส่วนๆ
ในโดเมนหนึ่งๆจะมีการมอบอำนาจการดูแลหรือไม่นั้นเป็นนโยบายของผู้บริหารโดเมนโดยตรง บางโดเมนอาจมีการสร้างโดเมนย่อยแต่ไม่มีการมอบอำนาจใดๆเลย หรืออาจมีการมอบอำนาจเฉพาะบางโดเมนย่อยเท่านั้น วิธีสร้างและมอบอำนาจดูแลโดเมนย่อยในดีเอ็นเอสมีกรรมวิธีเทคนิคเฉพาะซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตของรายงานฉบับนี้ ในที่นี้จะอธิบายเพียงหลักการมอบอำนาจซึ่งเกี่ยวพันกับความเข้าใจพื้นฐานในเรื่องโดเมนและโซนที่จะกล่าวในหัวข้อถัดไป
โดเมนและโซน
ความหมายของ โซน (zone) คือโดเมนย่อยในดีเอ็นเอสที่มีการมอบอำนาจหน้าที่ให้มีผู้ดูแลเฉพาะ ภายในโซนอาจแบ่งให้มีโซนย่อยออกไปอีกได้ตามคณะหรือหน่วยงาน แต่ละโซนจะมีเนมเซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่เก็บรักษาข้อมูลประจำโซน
เมื่อผู้ดูแลระบบได้รับมอบอำนาจจัดการโซน ผู้ดูแลระบบจะติดตั้งเนมเซิร์ฟเวอร์ประจำโซนและสร้างฐานข้อมูลเพื่อเก็บชื่อเครื่องกับไอพีแอดเดรสในโซนด้วยตนเอง การจัดการโดยผู้ดูแลระบบคือความหมายของการได้รับมอบอำนาจ เนมเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลในโซนใดๆจะมี อำนาจหน้าที่ (authority) ในโซนนั้น ตัวอย่างของการได้รับมอบอำนาจดูแลโดเมนระดับบนสุดมีดังเช่น .com, .net และ .org ดูแลโดยบริษัทเวริไซน์   .mil ดูแลโดยกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ และโดเมนระดับประเทศจะดูแลโดยผู้ได้รับมอบอำนาจให้เป็นนายทะเบียนชื่อโดเมนของประเทศนั้นๆ เป็นต้น

เนมเซิร์ฟเวอร์
ผู้ดูแลโซนจะติดตั้งมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์ (master name server) และ สเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์(slave name server) ประจำโซนมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์และสเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์ต้องเป็นเครื่องต่างเครื่องกัน มาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์เป็นเนมเซิร์ฟเวอร์ที่อ่านข้อมูลประจำโซนจากแฟ้มข้อมูลที่เก็บในระบบข้อมูล (เช่นฮาร์ดดิสค์) โซนๆหนึ่งจะมีมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์เพียงเครื่องเดียว ส่วนสเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์จะสำเนาข้อมูลมาจากมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์มาเก็บไว้โดยถ่ายโอนผ่านเครือข่าย สเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์มีได้หลายเครื่องเพื่อทำหน้าที่เป็นเนมเซิร์ฟเวอร์สำรองเมื่อมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถให้บริการได้ การจดทะเบียนชื่อโดเมนจึงต้องระบุชื่อเนมเซิร์ฟเวอร์อย่างน้อยสองชื่อ โดยที่ชื่อแรกคือชื่อมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์ และอีกชื่อหนึ่งคือสเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์
มาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์จะบรรจุข้อมูลประจำโซน ผู้ดูแลดีเอ็นเอสจะเพิ่มหรือลบชื่อโฮสต์หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่มาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น เมื่อถึงเวลาที่กำหนดสเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์จะถ่ายโอนข้อมูลจากมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์มาโดยอัตโนมัติเพื่อให้ข้อมูลตรงกัน การถ่ายโอนนี้เรียกว่า การถ่ายโอนโซน (zone transfer)

กระบวนการทำงานของดีเอ็นเอสประกอบด้วย รีโซลเวอร์ (resolver) ซึ่งเป็นโปรแกรมในเครื่องไคลเอ็นต์ที่ขอบริการดีเอ็นเอสที่กำหนดว่าเครื่องนั้นอยู่ในโดเมนใด และต้องติดต่อกับเนมเซิร์ฟเวอร์ใด
กระบวนการเรโซลูชัน
เนมเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้เพียงให้บริการข้อมูลในโซนที่อยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่เท่านั้น หากแต่ต้องให้บริการสืบค้นข้อมูลอื่นทั่วทั้งเนมสเปซให้กับเนมเซิร์ฟเวอร์อื่นที่ขอบริการ ตัวอย่างเช่น เนมเซิร์ฟเวอร์ในสังกัด ku.ac.th อาจขอบริการถามหาชื่อโฮสต์ในสังกัด nectec.or.th โดยอาศัยเนมเซิร์ฟเวอร์ของ nectec.or.th กระบวนการสืบค้นชื่อโดยเนมเซิร์ฟเวอร์นี้เรียกว่า เนมเรโซลูชัน (name resolution) หรือเรียกสั้นๆ ว่า เรโซลูชัน(resolution)
  เรโซลูชันของดีเอ็นเอสมีหลักการทำงานแบบไคลเอ็นต์เซิร์ฟเวอร์ รีโซลเวอร์ทำหน้าที่เป็นไคลเอ็นต์และเนมเซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ ดังรูปที่ 4 ทั้งรีโซลเวอร์และเนมเซิร์ฟเวอร์จะเก็บรักษาข้อมูลที่สืบค้นได้ไว้ในแคช เนมเซิร์ฟเวอร์จะสืบค้นข้อมูลในแคชก่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน หากพบก็จะใช้ข้อมูลในแคชตอบกลับไป ปกติแล้วเนมเซิร์ฟเวอร์จะเก็บข้อมูลในแคชเพียงระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงลบทิ้งไปเพราะข้อมูลอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

รูทเนมเซิร์ฟเวอร์
เนมเซิร์ฟเวอร์แต่ละเครื่องต่างมีข้อมูลเฉพาะโซนที่ดูแลอยู่เท่านั้น หากรีโซลเวอร์ร้องขอการสอบถามข้อมูลโซนตนเอง เนมเซิร์ฟเวอร์จะช่วยค้นข้อมูลนอกโซนของตนเองให้
อินเทอร์เน็ตจัดให้มี รูทเนมเซิร์ฟเวอร์ (root name server) เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นการหาข้อมูลในเนมสเปซ เนมเซิร์ฟเวอร์สามารถสืบค้นข้อมูลทุกจุดของเนมสเปซโดยติดต่อกับรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ รูทเนมเซิร์ฟเวอร์มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถให้บริการได้แล้วกระบวนการเรโซลูชันทั้งอินเทอร์เน็ตจะหยุดชะงัก อินเทอร์เน็ตจึงจัดให้มีรูทเนมเซิร์ฟเวอร์กระจายตัวในต่างพื้นที่กันจำนวน 13 รูทเนมเซิร์ฟเวอร์ได้แก่ a.root-servers.net, b.root-servers.net, c.root-servers.net, … , m.root-servers.net  ดังตารางที่ 4 ทั้งนี้ a.root-servers.net ทำหน้าที่เป็นรูทเนมเซิร์ฟเวอร์หลักและที่เหลืออีก 12 ตัวเป็นรูทเนมเซิร์ฟเวอร์รองที่จะทำสำเนาข้อมูลจาก a.root-servers.net เป็นระยะๆ
ตารางที่ 4 รูทเนมเซิร์ฟเวอร์
ชื่อ
ไอพีแอดเดรส
a.root-servers.net
198.41.0.4
b.root-servers.net
128.9.0.107
c.root-servers.net
192.230.4.12
d.root-servers.net
128.8.10.90
e.root-servers.net
192.203.230.10
f.root-servers.net.
192.5.5.241
g.root-servers.net
192.112.36.4
h.root-servers.net
128.63.2.53
i.root-servers.net
192.36.148.17
j.root-servers.net
192.58.128.30
k.root-servers.net
193.0.14.129
l.root-servers.net
198.32.64.12
m.root-servers.net
202.12.27.33
ที่มา  : ftp://ftp.rs.internic.net/domain/named.root
รูปที่ 5 แสดงที่ตั้งของรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ทั้ง 13 เครื่อง โดยที่ 10 เครื่องกระจายตัวในอยู่ในสหรัฐอเมริกา อีก 3 เครื่องอยู่ในลอนดอน สต็อกโฮล์ม และโตเกียว รูทเนมเซิร์ฟเวอร์ทั้ง 13 เครื่องมิได้รับภาระการถามหาชื่อโดยตรงให้กับไคลเอ็นต์ทุกครั้ง หากแต่เป็นจุดทางเข้าระดับบนสุดโดยมีเนมเซิร์ฟเวอร์ระดับที่สองของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและองค์กรต่างๆและเนมเซิร์ฟเวอร์สำรองอีกจำนวนมาก ขณะที่เนมเซิร์ฟเวอร์ระดับถัดไปคือเนมเซิร์ฟเวอร์ ccTLDs นั้นเมื่อไคลเอ็นต์ถามหาไอพีแอดเดรสจากชื่อโดเมน ไคลเอ็นต์จะติดต่อกับเนมเซิร์ฟเวอร์ประจำโดเมนนั้นเพื่อสืบค้นข้อมูล หากเนมเซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถหาชื่อได้ก็จะติดต่อกับรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ และรูทเนมเซิร์ฟเวอร์จะส่งรายชื่อของเนมเซิร์ฟเวอร์ที่มีอำนาจหน้าที่ต่อไป
ในระยะแรกนั้นรูทเนมเซิร์ฟเวอร์จะเก็บฐานข้อมูลของโดเมน gTLDs บางโดเมนได้แก่ .com, .net., และ .org แต่เพื่อให้ระบบชื่อโดเมนมีเสถียรภาพและสามารถขยายภาระงานได้ จึงมีการจัดตั้งเนมเซิร์ฟเวอร์อีกหนึ่งชุดภายใต้ชื่อโดเมน gtld-servers.net  และย้ายข้อมูลในหมวด .com, .net., และ .org ออกจากรูทเนมเซิร์ฟเวอร์มาไว้ในเนมเซิร์ฟเวอร์ชุดใหม่ และใช้ชื่อเทียบเคียงกับรูทเนมเซิร์ฟเวอร์คือ a.gtld-servers.net ถึง m.gtld-servers.net  รูทเนมเซิร์ฟเวอร์ในปัจจุบันจึงดูแลเพียงฐานข้อมูลกลุ่ม ccTLDs และบางหมวดของ gTLDs ได้แก่ .edu  และบางส่วนของ in-addr.arpa

ที่มา  : http://caffeine.ieee.org/spectrum/dec01/departments/websf1.html

รูปที่ 5 รูทเนมเซิร์ฟเวอร์และตำแหน่งที่ตั้ง

ตัวอย่างการทำงานของรีโซลเวอร์
เพื่อให้เห็นขั้นตอนการทำงานของดีเอ็นเอสที่สัมพันธ์กับรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ ขอให้พิจารณารูปที่ 6  ซึ่งแสดงกระบวนการเรโซลูชันทีละขั้นตอน ในที่นี้สมมติให้ไคลเอ็นต์ pc.name.co.th ต้องการหาไอพีแอดเดรสของ www.name.com โดยที่ ns.name.co.th คือเนมเซิร์ฟเวอร์ของ name.co.th ขั้นตอนที่เกิดขึ้นจะเป็นดังต่อไปนี้
1. ไคลเอ็นต์ pc.name.co.th สอบถามหาไอพีแอดเดรสของ www.name.com โดยส่งคำถามให้ ns.name.co.th ตามขั้นตอนที่ 
2. ในตัวอย่างนี้ ns.name.co.th ไม่มีไอพีแอดเดรสของ www.name.com อยู่ในแคช จึงต้องติดต่อกับรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ตามขั้นที่ ‚ เพื่อถามหาแอดเดรสของ www.name.com
3. เมื่อรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ได้รับคำถาม แต่ไม่สามารถตอบได้โดยตรงเนื่องจากรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้เก็บไอพีแอดเดรสของ www.name.com   หน้าที่ของรูทเนมเซิร์ฟเวอร์คือส่งรายชื่อเนมเซอร์เวอร์ที่ดูแลฐานข้อมูลโดเมน .com กลับมาให้ ns.name.co.th ตามขั้นที่ ƒ   การตอบกลับในลักษณะนี้เรียกว่าเป็นการตอบแบบอ้างอิง (Referal answer) คำตอบที่ส่งไปมักเป็นเนมเซิร์ฟเวอร์ระดับรอง ซึ่งในที่นี้คือเนมเซิร์ฟเวอร์ในชุด gtld-servers.net
4. รายชื่อเนมเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับอาจมีหลายชื่อ ซึ่ง ns.name.co.th จะต้องหาคำตอบต่อไป โดยเลือกชื่อเนมเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับเพียงหนึ่งชื่อเพื่อถามแอดเดรสของ www.name.com ใหม่อีกครั้ง ในที่นี้ให้ ns.name.co.th เลือกและส่งคำถามไปยัง f.gtld-servers.net ตามขั้นที่ „
5. f.gtld-servers.net ตอบกลับโดยรายชื่อเนมเซิร์ฟเวอร์ของโดเมน name.com ซึ่งในที่นี้คือ twinkle.generation.net และ sparkle.generation.net กลับไปตามขั้นที่ …
6. ns.name.co.th เลือกติดต่อกับ twinkle.generation.net เพื่อสอบถามไอพีของ www.name.com ดังขั้นที่ †
7. เนื่องจาก twinkle.generation.net เก็บฐานข้อมูลของโดเมน name.com ดังนั้นจึงสามารถตอบไอพีแอดเดรสของ www.name.com  กลับมาตามขั้นที่ ‡ ซึ่งค่าที่ได้คือ  205.205.119.75
8. ขั้นที่ ˆ เมื่อ ns.name.co.th ได้รับไอพีแอดเดรสของ www.name.com ก็จะส่งไอพีแอดเดรสที่ได้นี้ไปให้ pc.name.co.th

รูปที่ 6 ตัวอย่างกระบวนการเรโซลูชัน

จากกระบวนการเรโซลูชันข้างต้นจะสังเกตเห็นว่าเนมเซิร์ฟเวอร์ในโซนหนึ่งๆทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยหาข้อมูลในโซนอื่นๆตามที่ไคลเอ็นต์ในโซนนั้นร้องขอ lการสอบถามข้อมูลของ แต่ละครั้งอาจไม่ได้รับคำตอบโดยตรง หากแต่ได้ชื่อเนมเซิร์ฟเวอร์ซึ่ง อยู่ใกล้คำตอบมากยิ่งขึ้น ทีละขั้นจนกระทั่งได้ชื่อเนมเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลที่ต้องการและให้คำตอบในที่สุด